ปรึกษาให้คำแนะนำ

Search
Close this search box.
แฟรนไชส์คืออะไร

แฟรนไชส์คืออะไร

รูปแบบหนึ่งของการทำธุรกิจที่ซับซ้อนกว่าที่คุณคิด

สำหรับ ผู้ที่จะเริ่มทำธุรกิจเกี่ยวกับแฟรนไชส์ หรือส่งสัยเกี่ยวกับแฟรนไชส์ การเตรียมตัวถือเป็นสิ่งสำคัญหากมองเฉพาะผลลัพธ์ และ รายได้อาจจะดูล่อตาล่อใจไม่ว่าจะเป็นผู้ขายและผู้ซื้อแฟรนไชส์ สำหรับบทความนี้เราจะมาทำความเช้าใจกับความหมายของแฟรนไชส์ ส่วนประกอบของแฟรนไชส์ รวมไปถึงข้อดีและข้อเสียของผู้ซื้อหรือขายสิทธิแฟรนไชส์ เพื่อช่วยให้ผู้ที่กำลังจะเข้ามาในวงการแฟรนไชส์มีความเข้าใจ และสามารถตัดสินใจได้ง่ายยิ่งขึ้น

แฟรนไชส์คืออะไร ?

แฟรนไชส์ (Franchise) เป็นรูปแบบการกระจายธุรกิจ หรือขยายกิจการที่จะต้องมีมารตฐานเดียวกัน โดยการขายสิทธิและวิธีการดำเนินธุรกิจ หรือ การผลิตสินค้าไปจนถึงการบริการให้มีมาตรฐานเดียวกัน  ตัวอย่างเช่น

         ร้าน 7-eleven ที่สามารถพบเจอได้ทุกที่ในประเทศไทยที่มีลักษณะและคุณภาพของร้านที่เหมือนกัน

ส่วนประกอบของรูปแบบธุรกิจแฟรนไชส์มี 3 อย่างดังนี้

1. ผู้ขาย (แฟรนไชส์ซอร์) และ ผู้ซื้อ (แฟรนไชส์ซี)

  •  ผู้ขาย หรือ แฟรนไชส์ซอร์ เป็นเจ้าของสิทธิในเครื่องหมายการค้า เสมือนกับบริษัทแม่ที่จะขาย สิทธิการค้า วิธีการดำเนินงาน ไปจนถึงช่วยสนับสนุนเครือข่ายที่ซื้อแฟรนไชส์
  •  ผู้ซื้อ หรือ แฟรนไชส์ซี เป็นผู้ที่มาซื้อรูปแบบของกิจการ เครื่องหมายการค้า และสิทธิการดำเนินกิจการของแฟรนไชส์ซอร์ เพื่อไปทำธุรกิจที่เหมือนกับต้นทางเป๊ะๆ

2. เครื่องหมายการค้า และ การดำเนินกิจการ

  •         เป็นสิ่งที่ แฟรนไชส์ซอร์ จะต้องถ่ายทอดให้กับ แฟรนไชส์ซี โดยจะมีเครื่องหมายการค้า ไปจนถึงเทคนิคการผลิตสินค้าเพื่อให้มีมาตรฐานเดียวกันทุกสาขา

3. การจ่ายค่าแฟรนไชส์ 

          3.1 Franchise Fee หรือ เป็นค่าแรกเข้าในการซื้อแฟรนไชส์ ที่แฟรนไชส์ซีจะต้องจ่ายเผื่อซื้อสิทธิในเครื่องหมายการค้า และวิธีการดำเนินกิจการจากผู้ขายหรือแฟรนไชส์ซอร์

          3.2 Royalty Fee เป็นค่าตอบแทนต่อเนื่อง โดยคำนวนจากสัดส่วนที่ แฟรนไชส์ซีขายได้และเรียกเก็บตามที่สัญญากำหนด

          3.3 Advertising Fee เป็นค่าตอบแทนที่ จะนำไปใช้ในการโฆษณาและโปรโมทกิจการเพื่อกระตุ้นยอดขาย ในส่วนนี้จะมีเฉพาะบางแฟรนไชส์ที่เรียกเก็บ

ข้อดีของแฟรนไชส์

ข้อดีของธุรกิจแฟรนไชส์ ในการทำธุรกิจแฟรนไชส์สำหรับ ผู้ขายสิทธิ หรือ แฟรนไชซอร์

  • ธุรกิจสามารถขยายสาขา โดยการใช้ทุนที่ต่ำลง 
  • ลดความเสี่ยงในการลงทุน
  • เพิ่มอำนาจการต่อลอง ในการซื้อปัจจัยในการผลิตสินค้า และ บริการ
  • ได้รับส่วนแบ่งค่าตอบแทนจาก ผู้ที่ซื้อสิทธิ หรือ แฟรนไชส์ซี
  • สามารถเพิ่มแหล่งกระจายสินค้า ไปสู่หน้าร้านในต้นทุนที่ต่ำลงและสม่ำเสมอ

 

ข้อดีในการทำธุรกิจแฟรนไชส์สำหรับ ผู้ซื้อสิทธิการค้า หรือ แฟรนไชส์ซี

  • มีพี่เลี้ยงในการดำเนินกิจการ ด้วยการช่วยเหลือจาก แฟรนไชส์ซอร์
  • มีฐานลูกค้า และ มีประสบการณ์ ไปจนถึงภาพลักษณ์ของแบรนด์ที่สร้างไว้อยู่แล้ว
  • มีแหล่งวัตถุดิบที่แฟรนไชซอร์ จัดหาให้
  • แฟรนไชซอร์จะช่วยในการทำตลาด ทำให้ลดต้นทุนในการโปรโมท บางแฟรนไชส์อาจคิดเพิ่มมาในรูปแบบ Advertising Fee อยู่แล้ว ตามแต่ขอตกลงของแฟรนไชส์นั้นๆ
  • เพิ่มโอกาสที่จะประสบความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจ เพราะ มีผู้ให้ความรู้ลดการลองผิดลองถูก และ อาจมีคอมมูนิตี้ที่คอยแลกเปลี่ยนความรู้ให้คำปรึกษาอยู่เสมอ 
  • สำหรับบางกิจการการซื้อแฟรนไชส์ อาจมีการลงทุนและความเสี่ยงที่ต่ำกว่าการเปิดกิจการเองเสียอีก

 

ข้อเสียของแฟรนไชส์

ข้อเสียของธุรกิจแฟรนไชส์ สำหรับ ผู้ขายสิทธิ หรือ แฟรนไชซอร์

  • หากไม่มีความพร้อมและความเข้าใจเกี่ยวกับ ระบบแฟรนไชส์ อาจส่งผลให้ธุรกิจล้มเหลวได้
  • อาจมีปัญหากับผู้ที่ซื้อสิทธิหรือแฟรนไชซี ที่ไม่ทำตามกฎหรือข้อตกลง
  • ความยากขึ้นในการคุม มาตรฐาน และ ภาพลักษณ์ ของกิจการให้มีความใกล้เคียงกัน
  • ความเสี่ยงในการเปิดเผยข้อมูลของธุรกิจ ให้กับกลุ่มแฟรนไชซี
  • มีค่าใช้จ่ายในการเริ่มต้นที่สูง รวมไปถึงความซับซ้อนในหลายๆด้าน

 

ข้อเสียในการทำธุรกิจแฟรนไชส์สำหรับ ผู้ซื้อสิทธิ หรือ แฟรนไชซี

  • มีขอบเขตในการดำเนินธุรกิจ ให้เป็นไปตามข้อตกลงที่ทำไว้กับ แฟรนไชซอร์
  • ใช้เงินลงทุนสูงในการเริ่มต้นแฟรนไชส์
  • ภาพลักษณ์ของแฟรนไชส์อาจส่งผลที่ไม่ดีในบางเหตุการ
  • ถึงความเสี่ยงจะต่ำแต่ก็ไม่มีหลักประกันที่จะประสบความสำเร็จ เพราะยังมีปัจจัยอื่นๆที่ต้องคำนึงด้วย

 

วิธีการเลือกซื้อแฟรนไชส์

หากจะเริ่มกิจการแฟรนไชส์ ควรเลือกซื้อแฟรนไชส์อย่างไรดี

สำหรับผู้ที่จะเลือกกิจการแฟรนไชส์ โดยปกติจะมีการศึกษาข้อมูลการลงทุน ความน่าสนใจของธุรกิจ คำนวนกับ กำลังทรัพย์หรือต้นทุนของเราเอง สำหรับการเลือกแฟรนไชส์สามารถทำสิ่งเหล่านี้ก่อนตัดสินใจได้ อย่างเช่น

  • ตรวจสอบข้อมูลของแฟรนไชส์ ประสบการณ์ ภาพลักษณ์ วิสัยทัศ ไปจนถึงอายุบริษัทและวิธีการดำเนินงาน
  • ตรวจสอบจำนวนสาขา และ กลุ่มลูกค้าในพื้นที่
  • ปรึกษาผู้ที่มีประสบการณ์การทำแฟรนไชส์ที่สนใจ หรือ กลุ่มที่กำลังทำแฟรนไชส์แบรนนั้นอยู่
  • ความเข้ากันระหว่างตนเองและผู้ขายสิทธิหรือ แฟรนไชซอร์ เพื่อการทำงานที่ราบรื่น
  • ข้อตกลงในการทำสัญญาที่ชัดเจน ไม่เอาเปรียบจนเกินไป และ รับได้ทั้งสองฝ่าย
  • มีการพัฒนา ดูแลธุรกิจอยู่เสมอเพื่อคงยอกขายและรองรับความต้องการของผู้บริโภคที่เกิดการเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา

การทำแฟรนไชส์ไม่ว่าจะเป็นผู้ขายสิทธิ หรือ ผู้ที่ซื้อสิทธิแฟรนไชส์ ก็ต่างมีความเสี่ยงในการลงทุน รวมทั้ง ข้อดี และ ข้อเสีย เป็นธรรมดาของธุรกิจ แต่สิ่งที่แฟรนไชส์จะแตกต่างก็คือความซับซ้อนที่มากขึ้นเพราะจะต้องเจอกับผู้คนที่หลากหลาย กฎระเบียบที่จำเป็นจะต้องเข้มงวดเพื่อคงมาตรฐาน และ   การดำเนินงานให้ธุรกิจเป็นไปในทิศทางเดียวกัน เราสามารถเห็นตัวอย่างของแฟรนไชส์ได้มากมายในชีวิตประจำวัน ซึ่งสุดท้ายแล้วหากผู้ที่กำลังจะเริ่มลงทุนเกี่ยวกับแฟรนไชส์ ควรศึกษาและเตรียมแบบแผนให้พร้อมสำหรับการดำเนินธุรกิจเพื่อที่จะประสบความสำเร็จได้ในอนาคต

หาโปรแกรมธุรกิจและเครื่องPOSได้ที่ Facebook

ปรึกษา หรือ สอบถามเกี่ยวกับเครื่อง POS สุด Private ด้วย Line

แชร์โพสต์